ปวดหลัง ทำอย่างไรดี

BBF1CD6D-98FC-46FE-A301-10114CC79A78

ปวดหลัง อาการเจ็บป่วยที่ดูเหมือนธรรมดา เป็นภาวะที่พบได้ทั่ว ๆ ไปแต่คุณรู้มั้ยว่าอาการปวดหลังที่ดูเหมือนธรรมดาอาจไม่ธรรมดาอย่างที่คุณคิด ปวดหลังอาจเป็นได้ตั้งเเต่กล้ามเนื้ออักเสบ หมอนรองกระดูกปลิ้นจนถึงภาวะเนื้องอกหรือการติดเชื้อได้

แล้วจะทราบได้อย่างไรว่า อาการปวดหลังที่เป็นอยู่ เป็นอะไร

– รู้สึกปวดล้า ๆ เมื่อย ๆ จากการทำงานงานหนัก ยกของหนัก สังเกตได้ว่าบริเวณผิวหนังตรงนั้น บวม รู้สึกผิวอุ่นมากกว่าปกติ คลำแล้วพบการตึงของกล้ามเนื้อเป็นแนวกล้ามเนื้อ อาจเป็นสัญญาณของ “ กล้ามเนื้ออักเสบ ”

– ปวดตรงกลางแนวกระดูกสันหลังลึกๆ อาจมีอาการปวดร้าว ชาร้าว อ่อนแรง รู้สึกแปล๊บๆ เหยียบพื้นเเล้วรู้สึกหนาๆกว่าปกติ อาจเป็น “ หมอนรองกระดูกอักเสบ เคลื่อนหรือกดเบียดเส้นประสาท ”

– ปวดหลังที่ระบุตำแหน่งยาก ปวดมากๆในตอนกลางคืนจนตื่นมา อาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น มีไข้ ปัสสวะแสบขุ่น ปวดท้อง แน่นหน้าอก อาจเป็น “ ภาวะเนื้องอกหรือติดเชื้อ ”

ปวดหลังแล้วควรทำอย่างไร

เบื้องต้นควรสังเกตก่อนว่าอาการปวดหลังมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร มีสาเหตุจากอะไร เช่น พึ่งไปเล่นกีฬามา ยกของหนัก หรือมาจากการทำกิจกรรมต่อเนื่องเป็นเวลานานโดยไม่พัก ให้ปรับกิจกรรมในชีวิตประจำวันก่อน เช่น การนั่งโดยให้นั่งลงน้ำหนักให้เต็มก้น ไม่นั่งไขว่ห้าง ปรับโต๊ะทำงานให้อยู่ในระดับสายตา ไม่ก้มหลังมากเกินไประหว่างนั่งทำงานหรือก้มตัวลงยกของ ให้ประคบเย็นในกรณีที่การเจ็บปวดพึ่งเกิดขึ้นเพื่อลดอักเสบ หากเป็นนานเรื้อรังแล้วให้ประคบอุ่นเพื่อให้เกิดการคลายตัวเเละเพิ่มการไหลเวียนเลือด

ท่าออกกำลังกายเบื้องต้นสำหรับผู้ที่มีอาการปวดหลัง

  1. ท่าฝึกการทำงานกล้ามเนื้อแกนกลาง (Core muscles exercise)ให้ผู้ป่วยนอนหงายชันเข่า  ขมิบก้น(ให้แน่นท่ีสุด) เกร็งหน้าท้อง(ให้มากที่สุด) กดหลังติดเตียง แล้วดึงสะดือลงไปให้ลึกที่สุด  ให้รู้สึกว่าสะดือชิดกับเตียงมากที่สุด  ค้างไว้ 5-10 วินาที จำนวน 5-30 ครั้ง* 
  2. ท่ายืดกล้ามเนื้อหลัง (Side lying knee to chest )ให้ผู้ป่วยนอนตะแคงร่วมกับงอเข่าสองข้างเข้าหาลำตัวและใช้มือกอดเข่าเข้าหาลำตัวค้างไว้ ให้รู้สึกตึงๆที่หลัง ค้างไว้ 10-20 วินาที จำนวน 5-30 ครั้ง* 
  3. การออกกำลังกาย Mc Kenzie exercise ให้ผู้ป่วยนอนคว่ำ วางมืออยู่ตรงระดับอก ค่อยๆใช้มือดันลำตัวขึ้นช้าๆ ศอกเหยียดตรง ค้างไว้ เท่าที่รู้สึกตึงๆที่หลังเมื่อรู้สึกสบายขึ้นแล้วค่อย ๆ ผ่อนตัวลงนอนคว่ำกับพื้น รวมประมาณ 5 ครั้งต่อวัน* ท่านี้สามารถลดเเรงดันที่ภายในช่องหมอนรองกระดูกสันหลังได้  ช่วยในเรื่องหมอนรองกระดูกสันหลังปลิ้นทับเส้นประสาท  

 * หมายเหตุ ความถี่และจำนวนเวลาในการออกกำลังกายให้ปรับตามความสามารถของร่างกาย ไม่ฝืนทนถ้ามีอาการเจ็บเพิ่มขึ้น.                                              การออกกำลังกายสามารถช่วยยืดกล้ามเนื้อที่ตึงให้มีความยืดหยุ่นที่ดีขึ้น มีการไหลเวียนเลือดทั่วร่างกายที่มากขึ้น ทำให้กล้ามเนื้อที่ตึงผ่อนคลายลง อาการปวดก็จะดีขึ้น ถ้าออกกำลังกายแล้วอาการปวดไม่ดีขึ้นภายใน 2-3 อาทิตย์ หรือปวดเพิ่มขึ้นอาจเป็นไปได้ว่ามีความผิดปกติของโครงสร้างที่ซับซ้อน ให้หยุดการออกกำลังกายและมาพบนักกายภาพบำบัดเพื่อทำการตรวจร่างกายอย่างละเอียดและออกแบบการรักษาที่เหมาะสมต่อไป (หากท่านผู้อ่านมีความกังวลใจเกี่ยวกับอาการปวดหลัง. สามารถมารับการตรวจร่างกายที่ ซาลดรา อาร์ทัว คลินิกฯ ได้ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่ายค่ะ😍 )

แนวทางการรักษาทางของซาลดรา อาร์ทัว คลินิกกายภาพบำบัด

        ผู้ป่วยจะได้รับการตรวจร่างกายอย่างละเอียด เพื่อหาสาเหตุว่า อาการปวดมาจากโครงสร้างใด ?  มีปัญหาแบบไหน ? เพื่อเราจะได้ออกแบบการรักษาอย่างเหมาะสมและตรงจุด ส่วนใหญ่อาการปวดเป็นเพียงปลายเหตุ ต้นเหตุมักมาจากความไม่สมดุลของร่างกาย หรือการสะสมความผิดปกติจากการใช้งานในท่าทางที่ไม่เหมาะสมเป็นเวลานาน จนส่งผลให้เกิดความผิดปกติชองโครงสร้างร่างกาย เช่น เข่าบิด(Knee abnormal alignment) กระดูกสันหลังคด (Scoliosis) สะโพกเอียง(Pelvic drop) สะบักลอย(Wing scapula) ความตึงตัวของกล้ามเนื้อผิดปกติ(Tight /Weakness muscle) ฯลฯ เมื่อโครงสร้างผิดปกติก็ส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บของร่างกายได้ง่าย 

       ซาลดราอาร์ทัว คลินิกกายภาพบำบัดจึงให้ความสำคัญกับการปรับสมดุลของร่างกาย  ทั้งระบบไหลเวียนโลหิต ระบบประสาท ระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ  เพื่อให้ร่างกายของเราได้ฟื้นฟูอย่างเป็นองค์รวม ควบคู่กับการเน้นการรักษาบริเวณที่มีอาการปวดและอักเสบ ด้วยวิธีการรักษาทางกายภาพบำบัด เรารักษาแบบ อนุรักษ์นิยม (Conservative treatment)  คือ ไม่ได้ใช้การฉีดยา ทานยาหรือผ่าตัด เพราะเราเชื่อว่ายาหรือสารเคมีที่เข้ามาในร่างกายจะส่งผลกระทบข้างเคียงต่อระบบโดยรวมของร่างกายและการผ่าตัดจะให้ร่างกายของเราไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป นั่นคือจะทำให้เกิดแผลเป็น(Scar)และผังพืดในร่างกาย ซาลดรา อาร์ทัวฯจึงเน้นที่จะฟื้นฟูโครงสร้างให้กลับสู่ภาวะปกติที่สุดโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และเครื่องมือทางการแพทย์ (กายภาพบำบัด) ผสานกับเทคนิดเฉพาะของ ซาลดรา อาร์ทัว คลินิกฯที่ออกแบบอย่างเหมาะสมเฉพาะกับแต่ละบุคคล 

ตัวอย่างการรักษา 

1. Hot/Cold pack เลือกประคบอุ่นหรือเย็น

2. คลื่นไฟฟ้าเพื่อการรักษา Electrotherapy เป็นคลื่นไฟฟ้าเพื่อการรักษา สามารถลดอาการปวดเเละเร่งการไหลเวียนเลือด การกระตุ้นระบบประสาท ฝึกการทำงานของกล้ามเนื้อให้ถูกต้อง (Motor Relearning) ชะลอการฝ่อลีบของกล้ามเนื้อ (Delay muscle atrophy) และลดการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ (Release muscle tightness)

3. Ultrasound therapy เป็นคลื่นเสียงความถี่สูงที่ส่งเข้าไปในชั้นเนื้อเยื่อที่บาดเจ็บ ทำให้เกิดการสั่นสะเทือนของโมเลกุล เกิดความร้อนลึก ที่ใช้ในการรักษาโครงสร้างที่มีอาการอักเสบและเร่งกระบวนการซ่อมแซมของร่างกาย (Healing process)

4. การจัดกระดูกและข้อต่อ (Manual technique) ของซาลดรา อาร์ทัว โดยขยับทีละข้อต่อเพื่อปรับสมดุลของร่างกายให้ใกล้เคียงปกติที่สุด เมื่อโครงสร้างของร่างกายอยู่ในแนวสมดุลก็จะส่งผลให้ร่างกายบาดเจ็บลดลง

5. อื่นๆ เช่น K-taping / Traction / Exercise therapy เป็นต้น

หากไม่สะดวกเข้ารับการรักษาหรือมมีอาการปวดเมื่อยเเต่ไม่มาก  ทางคลินิกขอแนะนำผลิตภัณฑ์ ซาลดราเมด Herbal Moisturizing Relax Gel เจลทาภายนอกเผื่อบรรเทาความเมื่อยล้า ด้วยสารสกัดจากสมุนไพรธรรมชาติ  ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ  ต้านอนุมูลอิสระ  รวมทั้งให้ความชุ่มชื้นกับผิว ด้วยนวัตกรรรมใหม่ เนื้อเจลบางเบาไม่เหนียวเหนอะหนะ มีกลิ่นหอนผ่อนคลาย ไม่มีกลิ่นติดเสื้อผ้าที่คุณสวมใส่ ให้คุณมั่นใจได้ตลอดวัน (ไม่มีใครรู้ว่าทายา 😊)

“ ปวดเมื่อยไม่ใช่เรื่องธรรมดา รีบดูแลรักษาเพื่อใช้ร่างกายได้นาน ๆ ” 

ผลิตภัณฑ์ ผ่อนคลายความเมื่อยล้า Saldra Med

ซาลดราอาร์ทัว คลินิก ยินดีให้คำปรึกษาและตรวจประเมินฟรี  โดยนักกายภาพบำบัดที่มีประสบการณ์ 

🌟🌟 สนใจผลิตภัณฑ์หรือติดต่อเพื่อนัดหมายเวลาเข้าตรวจประเมินและรักษา โทร 022874459 🌟🌟

ด้วยความห่วงใยจาก ซาลดรา อาร์ทัว คลินิก ฯ
เราอยากให้คุณมีสุขภาพที่ดีอย่างยั่งยืน
สอบถามเพิ่มเติม และทํา นัดรักษา
02-2874459
line : @saldraartuaclinic

บทความที่เกี่ยวข้อง

ปวดคอ ( Neck Pain )

นั่งทำงานนาน ๆ อ่านหนังสือนาน ๆ ก้ม ๆ เงย ๆ ปวดเมื่อยคอจังเลย ทำอย่างไรดี หาคำตอบจากได้บทความนี้ค่ะ

อ่านต่อ »

ปวดไหล่ ( shoulder pain )

อาการปวดไหล่ ที่พบบ่อยเกิดจากหลายสาเหตุ อาจเกิดจาก – พยาธิสภาพที่ข้อไหล่เอง – พยาธิสภาพ

อ่านต่อ »