คือการอักเสบและบาดเจ็บของเส้นเอ็นแขนในบริเวณที่ยึดเกาะกับปุ่มกระดูกด้านข้างข้อศอก เกิดจากการใช้งานมากและใช้งานซ้ำ ๆ กัน อาการปวดข้อศอกจากเอ็นข้อศอกอักเสบ เป็นโรคที่ พบได้บ่อยทั้งในบุคคลทั่วไป และนักกีฬา ซึ่งเกิดจากการฉีกขาดของเอ็นกล้ามเนื้อบางส่วนบริเวณจุดทีเกาะกับปุ่มกระดูกและพบในแขนข้างที่ถนัดมากกว่า แต่อาจพบพร้อมกันทั้ง 2 ข้างได้
ความเสี่ยงในการเกิดโรค
-ผู้ที่ทำงานใช้แขนหรือข้อมือซ้ำ เช่น ผู้ที่ ใช้งานคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน แม่บ้านที ทำงานบ้าน ช่างซ่อมที่ ต้องใช้เครื่องมือประเภท คีม ไขควง เป็นต้น
-ผู้ที่ทำงานออกแรงบิดหรือหมุนข้อมือ
-ผู้ที่ทำงานที่ต้องใช้มือหิ้วของหนัก ๆ นอกจากนี้ยังพบว่าช่วงอายุ 35–55 ปี จะเป็นช่วงอายุที่เกิด tennis elbow syndrome มากที่สุด
-ผู้ที่เล่นกีฬา เช่น เทนนิส หรือกอล์ฟ ที อาจขาดทักษะ ในการเล่นกีฬา หรือใช้อุปกรณ์ไม่เหมาะสม
พยาธิสภาพ
เกิดจากการใช้งานของกล้ามเนื้อ extensor carpi radialis brevis ซ้ำ ๆ หรือต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน ๆ เช่น การเขียนหนังสือ การหิ้วของหนัก หรือ การตีลูกเทนนิส เป็นต้น ทำให้เกิดการฉีกขาดที่เส้นเอ็นกล้ามเนื้อทีละเล็กทีละน้อย และเกิดการอักเสบเกิดขึ้น โดยในระยะแรกที่เกิดการอักเสบเกิดขึ้นนั้น ผู้ป่วยอาจจะรู้สึกเจ็บบริเวณข้อศอกด้านนอกเพียงเล็กน้อย เมื่อผู้ป่วยยังคงทำกิจกรรมแบบเดิมต่อไป จนเกิดการฉีกขาดของเส้นเอ็นกล้ามเนื้อมากขึ้น และเกิดการอักเสบเรื้อรัง ท้ายที่สุดจะทำให้เกิดเนื้อเยื่อพังผืดที่บริเวณนี้ขึ้นและเป็นสาเหตุให้เกิดอาการปวดอย่างรุนแรง
ลักษณะของอาการ
ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีการปวดแบบค่อยเป็นค่อยไปซึ่งอาจใช้ระยะเวลานานหลายสัปดาห์หรือหลายเดือน อาจจะมีอาการปวดบริเวณข้อศอกด้านนอกเพียงเล็กน้อย หรือมีอาการเฉพาะเวลาทำงานที่ต้องใช้แรงมาก ๆ อาการปวดจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และเมื่ออาการมากขึ้นอาจมีอาการปวดแม้ทำกิจกรรมเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวข้อมือ เช่น การหิ้วถุงใส่ของ, การจับมือทักทาย และ การบิดมือเปิดฝาขวดน้ำ เป็นต้น นอกจากนี้ในผู้ป่วยบางรายอาจจะมีอาการปวดจากบริเวณข้อศอกด้านนอกร้าวลงไปที่ด้านหลังมือและร้าวไปที่นิ้วกลางหรือนิ้วก้อยและอาจมีแรงในการกำมือลดลง
การรักษา
ประกอบด้วย 2 วิธี ได้แก่
-การรักษาด้วยวิธีการไม่ผ่าตัด ประมาณ 80-95% ของผู้ป่วยสามารถรักษาสำเร็จด้วยวิธีนี้ มีหลายวิธี ได้แก่
– การพักการใช้งาน, กิจกรรม หรือกีฬาที่ต้องใช้งานแขนหนัก
– การทานยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ เพื่อลดการอักเสบและลดอาการปวด อาจเสริมด้วยยาคลาย กล้ามเนื้อและยาแก้ปวดเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษา
– การทำกายภาพบาบัด เช่น การฝึกยืดกล้ามเนื้อ และเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
– การใช้คลื่นอัลตราซาวด์หรือคลื่นเสียงกระตุ้นกล้ามเนื้อ, การประคบเย็นบริเวณกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น
– การใช้สนับรัดพยุงข้อศอก เพื่อช่วยลดการขยับตัวของกล้ามเนื้อ และลดแรงที่มากระทาต่อเส้นเอ็น
– การฉีดยาสเตียรอยด์ เพื่อลดการอักเสบ และลดอาการปวดในกรณีที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วย
-วิธีอื่น ๆ นักกีฬาที่ต้องใช้ไม้แร็กเก็ต เช่น เทนนิส แบดมินตัน ควรเลือกใช้ไม้ตีที่มีขนาดหัวไม้ และความตึงของเส้นเอ็นที่เหมาะสม
-การรักษาด้วยวิธีการผ่าตัด
-ถ้าใช้วิธีการรักษาด้วยวิธีการไม่ผ่าตัดอย่างเต็มที่ 6-12 เดือนแล้วยังไม่ได้ผล แพทย์อาจแนะนาให้รักษาด้วยวิธีการผ่าตัด โดยเป็นการตัดแต่งเส้นเอ็นและกล้ามเนื้อที่บาดเจ็บ, และมีสภาพที่ไม่ดีออกไป และซ่อมแซมส่วนที่ดียึดเข้ากับกระดูกด้านข้างข้อศอก